เมื่อคุณได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวนหรือตำรวจ เป็นสิ่งแสดงว่า ผู้ได้รับหมายเรียกตกเป็น “ผู้ต้องหา” เรียบร้อยแล้ว หมายความว่า มี “ผู้กล่าวหา” ไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญากับ “ผู้ต้องหา” พนักงานสอบสวนหรือตำรวจจึงออกหมายเรียกมายังผู้รับหมายเรียก
อันดับแรก ตั้งสติก่อน แล้วคิดตามว่า “เราไปก่อเรื่อง อะไร กับใคร ที่ไหน หว่า ..” ที่แน่ๆเรื่องที่เกิดเหตุ ต้องอยู่ในท้องที่ที่ตำรวจสามารถมีอำนาจสอบสวน เค้าจึงออกหมายเรียกได้และหมายเรียกจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ เพื่อเป็นหลักฐานว่าพนักงานสอบสวนหรือตำรวจได้ออกหมายเรียกแล้วนะ
อันดับที่สอง ดูว่า หมายเรียกครั้งที่เท่าไหร่ ตรงมุมบนซ้ายของหมายเรียก ถ้าเป็นครั้งแรก คุณอาจทำเป็นเฉยๆตั้งสติ หาสาเหตุที่มีปัญหากับ คู่กรณีที่ไปแจ้งความคุณก่อนได้ แต่ถ้าเป็นหมายเรียกครั้งที่ 2 คุณต้องรีบติดต่อพนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวนผู้ออกหมายเรียก เพื่อนัดหมายเข้าพบตามวันเวลาที่กำหนดในหมายเรียก แต่หากวันดังกล่าวไม่ว่างหรือติดภารกิจสำคัญก็ควรขอเลื่อนการเข้าพบพนักงานสอบสวน เมื่อจะไปพบตำรวจคุณควรมีทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. เพื่ออยู่ร่วมการฟังเรื่องราวที่ถูกกล่าวหานั้น แล้วนัดหมาย “ผู้กล่าวหา” มาพูดคุยกันโดยมีพนักงานสอบสวนหรือตำรวจ เป็นคนกลาง หากคดีที่สามารถ “ตกลงกันได้” “จบกันได้” ชั้นตำรวจ จะได้เจรจาตกลงกันไป แม้จบไม่ได้อย่างน้อยจะได้เตรียมตัว”รับทราบข้อกล่าวหา” “พิมพ์ลายนิ้วมือ” ตกเป็นผู้ต้องหา รอส่งฟ้องศาลต่อไป ประเด็นเรื่องนี้ มีเรื่องเดียวที่ประสบพบเจอด้วยตนเอง กรณี “ผู้ต้องหา” ไม่ได้รับหมายเรียก เพราะตำรวจจะส่งไปตามที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร ถ้าคุณอยู่คนละบ้านหรือคนละสถานที่ จึงไม่ได้รับหมายเรียก ตำรวจจะขอศาลออกหมายจับ เพราะเมื่ออกหมายเรียก 2 ครั้งแล้วคุณไม่มาเพราะไม่ทราบ ตำรวจก็จะขอศาลออกหมายจับ แล้ววันใดวันหนึ่งคุณโชคดี เดินทางไปต่างประเทศ หมายจับก็จะแสดงขึ้นมาให้คุณถูกตำรวจจับตามหมายจับ หรือคุณถูกหมากัด จะไปฉีดยาป้องกันพิษสุนัขบ้า ประวัติที่คุณถูกออกหมายจับจะขึ้นมาให้ตำรวจตามไปจับตัวมาดำเนินคดีอาญาในชั้นศาลต่อไป ทนายปฐพร เจอมาแว้วววว 555
Facebook Comments