หนี้ที่ต้องถูกฟ้องล้มละลาย คือ บุคคลธรรมดา เป็นหนี้เกิน 1 ล้านบาท ส่วนนิติบุคคล คือ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน สมาคม และมูลนิธิ เป็นหนี้เกิน 2 ล้านบาทและตรวจพบว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้
ส่วนกระบวนการกว่าจะเป็นคนล้มละลาย จะต้องถูกฟ้อง เช่น ธนาคารฟ้องบังคับจำนองบ้านพร้อมที่ดินไปแล้ว ยังเหลือยอดหนี้ หรือหนี้ส่วนขาด เหตุผลที่ฟ้องล้มละลาย เพราะระบบธนาคารต้องมีเงินสำรองหนี้สูญ ธนาคารหรือสถาบันการเงินต้องการเอาไปตัดหนี้สูญหรือหักทอนทางบัญชีได้ทั้งหมด
เมื่อล้มละลาย จะมีผลต่อการทำนิติกรรมใดๆ สัญญาใดๆ ลำพังมิได้เพราะถูกพิทักษ์ทรัพย์ ต้องผ่านการเห็นชอบจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเรียกสั้นๆว่า จพท. ส่วนเวลาจำเป็นที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ ก็ต้องขออนุญาตเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่รับผิดชอบในสำนวนคดี และถ้ามีรายได้ ต้องอยู่ในการกำกับดูแลของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ส่วนในทางการเมือง ไม่สามารถดำรงตำแหน่งใด ๆ ห้ามอุปสมบทหรือจะบวชเป็นพระภิกษุไม่ได้ เพราะพระห้ามเป็นบุคคลล้มละลาย ถ้าเป็นข้าราชการ ต้องถูกให้ออกจากราชการ เพราะขาดคุณสมบัติ
ขั้นตอนการฟ้องล้มละลาย ต้องมีการติดตามทวงหนี้เป็นระยะ หากไม่มีการติดต่อกลับหรือไม่มีเงินชำระหนี้ อาจถูกฟ้องล้มละลายได้ โดยเมื่อใกล้หมดอายุความ (10 ปี) เจ้าหนี้จะเร่งส่งหนังสือทวงถาม หากยังไม่ตอบกลับจึงส่งฟ้อง จากนั้นจึงมีการยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาด และทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดนั้นไม่เพียงพอชำระหนี้ หรือมีหนี้ส่วนขาด เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งพิทักษ์ทรัพย์ และต่อมาก็พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โดยลูกหนี้จะไม่สามารถทำธุรกรรมใด ๆ กับทรัพย์สินของตนเองได้ จากนั้นเจ้าหนี้ประชุมตกลงกันว่าจะประนอมหนี้ หรือจะเห็นควรให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย ถ้าเลือกที่จะให้ลูกหนี้ล้มละลาย ก็จะเข้าสู่กระบวนการพิพากษาให้ลูกหนี้นั้นเป็นบุคคลล้มละลาย
ทางออกเมื่อถูกฟ้องล้มละลาย
1. เมื่อได้รับจดหมายทวงหนี้ให้รีบหาทางเจรจากับเจ้าหนี้ และทำการผ่อนชำระหนี้บางส่วน หรือทยอยผ่อนชำระจำนวนเท่า ๆ กัน ตามตกลง
2. ควรเจรจาขอลดหนี้ในช่วงก่อนถูกฟ้องล้มละลาย เพราะในช่วงล้มละลายเจ้าหนี้ได้ถูกตัดหนี้ที่สูญไปแล้ว เงินที่ชำระทั้งหมดจะถือเป็นกำไรของเจ้าหนี้ จึงทำให้สามารถตกลงกันได้ง่ายกว่า
3. เมื่อได้รับหมายศาลให้รีบปรึกษาทนายความ โดยเฉพาะทรายความด้านคดีล้มละลาย เพราะมีความเชี่ยวชาญมากกว่า ไม่ควรดำเนินการด้วยตนเองเพราะอาจเกิดความเสียเปรียบหรือเสียรู้ได้
4. หากถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ยังไม่ถือเป็นบุคคลล้มละลาย ให้ขอเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อประนอมหนี้ก่อน
5. หรือหากถูกพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จะไม่สามารถทำนิติกรรมอะไรที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินได้ แต่ยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยควรเข้าไปติดต่อขอเจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้อีกครั้ง และทยอยผ่อนชำระ
ถาม ถ้าเป็นบุคคลล้มละลาย เป็นยังไงบ้าง
คำตอบ สถานะบุคคลล้มละลาย
1. ทำธุรกรรมการเงินไม่ได้ เช่น เอกสารการเงิน เปิดบัญชีธนาคาร เป็นต้น เพราะอำนาจในทรัพย์สินเป็นของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์สินแต่เพียงผู้เดียว
2. หากถูกสั่งล้มละลายแล้วจะต้องเป็นบุคคลล้มละลาย 3 ปี จึงจะถูกปลดจากล้มละลาย แต่หากไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหนี้ก็อาจขยายเวลาเป็น 5 ปี หรือ 10 ปีได้
3. สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ แต่ต้องขออนุญาตต่อพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิน พร้อมนำส่งรายได้ประมาณ 30% เพื่อชำระหนี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่
4. หากครบกำหนด 3 ปี สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์สินเพื่อขอปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลายได้
5. หลังจากพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ก็สามารถดำเนินชีวิต ทำงานบริษัท หรือทำธุรกรรมได้ตามปกติ
คำตอบ เคยเป็น แต่ปัจจุบัน ไม่เป็น งงไหมคะ
เราจะเห็นว่า เมื่อก่อนจะมีคุณสมบัติของการสมัครตำแหน่งอะไรต่างๆแม้แต่การเป็นผู้จัดการมรดก บอกว่า “ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย” หมายความว่า ขณะที่สมัครหรือขณะร้องจัดการมรดก ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย แต่อาจเป็นบุคคลล้มละลายมาก่อนแล้ว แต่ปลดหรือยกเลิกการเป็นบุคคลล้มละลายไปแล้ว
ส่วน “ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย” อันนี้หมายความว่า ใครเคยเป็นบุคคลล้มละลาย ก็หมดสิทธิ์สมัครโดยสิ้นเชิงเลย
Facebook Comments